ฝ่ายประชาสัมพันธ์ กรมเจ้าท่า (จท.) แจ้งว่า กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืชในแม่น้ำ ลำคลอง แหล่งน้ำสาธารณะต่าง ๆ ที่อยู่ในความรับผิดชอบอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันได้เปิดหน่วยกำจัดผักตบชวาและวัชพืช โดยมีสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 1 และสำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 2 เป็นหลักในการดำเนินงาน ผลสำรวจของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (Gisda) จำนวน 640 จุด ปริมาณผักตบชวา 436,773.06 ตัน ผลสำรวจพบผักตบชวา ในพื้นที่รับผิดชอบของกรมเจ้าท่าจำนวน 156,714.13 ตัน ปัจจุบันจัดเก็บได้ 132,499.86 ตัน คิดเป็นผลงาน 84.55% ตามพื้นที่รับผิดชอบดังนี้

สำนักงานพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 1 จ.พระนครศรีอยุธยา ระยะทางรวม 319 กม. ประกอบด้วย 1.แม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ใต้เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท จนสุดเขต จ.นนทบุรี (สะพานพระราม 7) ระยะทาง 160 กม. 2.แม่น้ำลพบุรี ตั้งแต่จุดเริ่มต้นแม่น้ำลพบุรี จ.สิงห์บุรี จนถึงจุดที่บรรจบแม่น้ำป่าสัก จ.พระนครศรีอยุธยา 67 กม. 3.แม่น้ำป่าสัก ตั้งแต่ใต้เขื่อนพระราม 6 อำเภอท่าเรือ จนถึงจุดที่บรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา (วัดพนัญเชิง) 50 กม. และ 4.แม่น้ำน้อย ตั้งแต่ประตูระบายน้ำผักไห่ อ.ผักไห่ จนถึงจุดบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา อ.บางไทร 42 กม.

สำนักพัฒนาและบำรุงรักษาทางน้ำที่ 2 จ.นครสวรรค์ ระยะทางรวม กม. ประกอบด้วย 1.แม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่ปากน้ำโพ จ.นครสวรรค์ ถึง อ.เมือง จ.ชัยนาท 2.แม่น้ำสะแกกรัง เขตพื้นที่ จ.อุทัยธานี และ 3.แม่น้ำท่าจีน เขตพื้นที่ จ.ชัยนาท อย่างไรก็ตาม เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จ ทำให้ไม่เกิดการสะสมตัวสร้างปัญหาการสัญจรทางน้ำและการระบายน้ำ ซึ่งกรมเจ้าท่าได้นำเครื่องจักรบูรณาการร่วมกับกรมชลประทาน และกรมโยธาธิการและผังเมือง ทั้งในส่วนกลางและระดับจังหวัด

เร่งแก้ไขปัญหาผักตบชวา สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ในการขับเคลื่อนการแก้ไขปัญหาผักตบชวาและวัชพืช เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมและมีความยั่งยืน สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ร่วมกันขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำของประเทศ

นอกจากนี้ กรมเจ้าท่าได้ดำเนินการออกใบอนุญาตโครงการขุดลอกต่างตอบแทน จำนวน 138 แห่ง 38 จังหวัด เนื้อดินรวมประมาณ 6,252,224.29 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาอีก 61 แห่ง เนื้อดินรวมประมาณ 4,675,124.62 ลูกบาศก์เมตร สามารถประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้ถึง 601 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 1 (จ.เชียงใหม่) อนุญาต 87 จุด คิวดิน 2,885,190.73 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 28 จุด คิวดิน 722,080.37 ลูกบาศก์เมตร 2.สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 2 (จ.พระนครศรีอยุธยา) ใบอนุญาต 5 จุด คิวดิน 478,225.50 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 1 จุด 3.สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 3 (จ.สมุทรสงคราม) ใบอนุญาต 3 จุด คิวดิน 121,527.50 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 2 จุด

4.สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 4 (จ.สงขลา) ใบอนุญาต 4 จุด คิวดิน 223,738.56 ลูกบาศก์เมตร 5.สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 (จ.ภูเก็ต) ใบอนุญาต 1 จุด คิวดิน 88,242 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 1 จุด 6.สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 6 (จ.ชลบุรี) ใบอนุญาต 1 จุด คิวดิน 172,174 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 6 จุด คิวดิน 129,103.41 ลูกบาศก์เมตร และ 7.สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 7 (จ.หนองคาย) ใบอนุญาต 37 จุด คิวดิน 2,283,126 ลูกบาศก์เมตร อยู่ระหว่างพิจารณาใบอนุญาต 23 จุด คิวดิน 3,823,940.84 ลูกบาศก์เมตร

ทั้งนี้นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม และ นายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ รมช.คมนาคม ผลักดันโครงการขุดลอกต่างตอบแทน โดยมอบหมายกรมเจ้าท่าพิจารณาอนุญาตการขุดลอก ให้เป็นไปตาม กฎ ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยวิธีการขุดลอกแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์ พ.ศ.2547 เพื่อฟื้นฟูสภาพของแหล่งน้ำไม่ให้มีการตื้นเขิน การคมนาคมทางน้ำสะดวก สามารถกักเก็บน้ำไว้ในฤดูแล้ง เกิดการระบายน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งโครงการดังกล่าวสามารถช่วยเติมเต็มการขุดลอกตามแผนฯ ให้เกิดความสมบูรณ์ พร้อมประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้อย่างเป็นรูปธรรม