“หากว่าจิตสงบเป็นสมาธิ เราจะเริ่ม รู้สึกแจ่มๆ ภายในจิต ถัดจากนั้นไปจะ มีความสว่างเกิดขึ้น” สารธรรมมงคล พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน จ.นครราชสีมา
เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด
“หลวงพ่อทอง” วัดเขาตะเครา ต.บางครก อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ จัดสร้างมากมายหลายประเภท ซึ่งล้วนเป็นที่นิยมและแสวงหาอย่างสูง โดยเฉพาะ “เหรียญปั๊ม รูปเหมือน ปี 2468” แต่ที่นับเป็นเหรียญรุ่นแรกจริงๆ คือ “เหรียญรุ่นที่สร้างในปี พ.ศ.2465” ซึ่งเป็น “เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมปรกโพธิ์” สร้างสมัยพระอธิการห้อย ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เนื้อทองเหลืองหูเชื่อม ยกขอบทั้งหน้าและหลัง
ด้านหน้าเหรียญ จำลอง องค์หลวงพ่อทอง ประทับนั่ง เหนืออาสนะบัวสองชั้น มีพื้นฐานเขียงรองรับอีกชั้นหนึ่ง ด้านหลังเหรียญ มีอักขระขอม 3 บรรทัดอ่านว่า “อิ สวา สุ มิ โน เชย ยะ” เหรียญหล่อสี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ หลวงพ่อทอง วัดเขาตะเครา ปัจจุบันหายากยิ่ง สนนราคาสูง
ปี พ.ศ.2531 หลวงปู่สำราญ กาญจนาโภ หรือ พระมงคลชัยสิทธิ์เจ้าอาวาสวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ขณะนั้น ได้จัดสร้างเหรียญมงคลหลวงปู่ศุข หาทุนบูรณะอุโบสถรุ่นปี 2531
ลักษณะเป็นเหรียญรูปไข่ มีหูห่วงในตัว ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเหรียญมี รูปเหมือนหลวงปู่ศุข นั่งสมาธิเต็มองค์นูนเด่น ด้านข้างรูปท่านมียันต์อุณาโลมกำกับทั้งสองข้างขอบเหรียญด้านบนเขียนว่า “พระครูวิมลคุณากรวัดปากคลองมะขามเฒ่า” ด้านล่างใต้รูปเหมือน เขียนว่า “๒๕๓๑” ตรงกลางเหรียญมียันต์พัดเขียนอักขระขอม ด้านบนและด้านล่างของ ยันต์พัด กำกับด้วยอักขระขอม คาถาพระเจ้า 5 พระองค์ เป็นอีกเหรียญที่ได้รับความนิยม
เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก หรือ พระครูขี้หอม พระเถราจารย์แห่งวัดโพนสะเม็ก กรุงเวียงจันทน์ ประเทศสปป.ลาว ในปี พ.ศ.2512 พระเทพรัตนโมลี (แก้ว อุทุมมาลา) เจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม จ.นครพนม จัดสร้างวัตถุมงคล เหรียญเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (พระครูขี้หอม) เพื่อรำลึกถึงบูรพาจารย์และผู้บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระธาตุพนม ลักษณะเป็นเหรียญอาร์มมีหูห่วง จัดสร้างเป็นหลายเนื้อ แต่ไม่ทราบจำนวนที่จัดสร้างแน่ชัด
ด้านหน้าเหรียญ ตรงกลางเป็นรูปเหมือนพระครู ขี้หอมนั่งท่าลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางมารวิชัยเต็มองค์ บนแท่นฐาน ด้านล่างสลักตัวหนังสือ 2 บรรทัดคำว่า “หลวงปู่เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก” และ “หลวงปู่ขี้หอม” ด้านหลังเหรียญ แบนราบ ตรงกลางเหรียญประดิษฐานพระธาตุพนมลอยนูนเด่นองค์เดิม มีลวดลายจุดไข่ปลาจากชั้นที่ 2 ขึ้นไปสู่ยอดฉัตรที่เจ้าราชครูได้บูรณะไว้ ด้านล่างสลักตัวหนังสือนูน “วัดพระธาตุพนม” ปัจจุบัน พบเห็นในแผงพระได้น้อยมาก
อริยะ เผดียงธรรม
[email protected]