ชป.ร่วมประชุมสทนช. รับนโยบายบริหารน้ำผลกระทบประชาชน ควบคู่เก็บกักน้ำสำรองฤดูแล้ง

เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ โดยมีดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นประธานการประชุม ที่ห้องประชุมน้ำปิง สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ปัจจุบัน(6ต.ค.64)ที่สถานีC2 จ.นครสวรรค์ ปริมาณน้ำไหลผ่านในอัตรา 2,572 ลบ.ม/วินาที เมื่อรวมกับปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง 141 ลบ.ม./วินาที ทำให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 2,749 ลบ.ม./วินาที กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำด้านเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ด้วยการผันน้ำเข้าระบบชลประทานทั้ง 2 ฝั่งรวม 407 ลบ.ม./วินาที แบ่งเป็น ฝั่งตะวันตก (คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำน้อย)ในอัตรา 371 ลบ.ม./วินาที ทั้งนี้ได้ปรับเพิ่มการรับน้ำเข้าแม่น้ำท่าจีนในอัตรา 131 ลบ.ม./วินาที พร้อมจัดจราจรทางน้ำเพื่อเร่งการระบายและลดผลกระทบต่อพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำท่าจีน ฝั่งตะวันออก(คลองชัยนาท-ป่าสัก คลองชัยนาท-อยุธยา)ในอัตรา 36 ลบ.ม./วินาที พร้อมระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักฯ ในอัตรา 900 ลบ.ม./วินาที ทั้งนี้ จะทยอยปรับลดการระบายแบบขั้นบันได โดยพิจารณาตามปริมาณน้ำ ช่วงเวลา ผลกระทบที่จะเกิดกับประชาชน และความปลอดภัยของเขื่อน



ด้านสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำ ชี-มูล ปัจจุบัน(6ต.ค.64) กรมชลประทาน ได้ควบคุมการระบายน้ำจากเขื่อนในลุ่มน้ำชี ในปริมาณที่เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพความจุของลำน้ำชี ควบคุมตัวปริมาณน้ำก่อนจะไหลลงไปสมทบกับแม่น้ำมูลที่จ.อุบลราชธานี เนื่องจากในแม่น้ำมูลเอง มีน้ำท่าไหลหลากจากทางตอนบนลงสู่เเม่น้ำมูลเช่นกัน เป็นการบรรเทาผลกระทบต่อพื้นที่ลุ่มต่ำริมเเม่น้ำ พร้อมกันนี้ยังได้เร่งเดินเครื่องผลักดันน้ำในแม่น้ำมูล ที่สะพานข้ามแม่น้ำมูล บริเวณแก่งสะพือ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี เพื่อเร่งระบายน้ำในเเม่น้ำมูลลงสู่เเม่น้ำโขงให้เร็วยิ่งขึ้น

สำหรับสถานการณ์น้ำปัจจุบัน(6ต.ค.64) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 52,626 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 12,977 ล้าน ลบ.ม. คาดการณ์ว่า ณ วันที่ 1 พ.ย.64 จะมีปริมาณน้ำเก็บกักทั้งประเทศรวมทั้งสิ้น 55,982 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณ 13,984 ล้าน ลบ.ม. กรมชลประทาน ได้วางแผนบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี64/65 ตามลำดับความสำคัญ เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน โดยจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค เพื่อรักษาระบบนิเวศ สำรองไว้ใช้ในช่วงต้นฤดูฝน เพื่อการเกษตรกรมม และเพื่อการอุตสาหกรรม ตามลำดับ

ทั้งนี้ ประธานในที่ประชุม ได้กำชับให้ทุกหน่วยงาน ร่วมกันดำเนินงานแก้ไขปัญหาทางน้ำในด้านต่างๆ ให้สอดคล้องกัน เพื่อลดผลกระทบที่เกิดกับประชาชน ควบคู่ไปกับการเก็บกักน้ำเพื่อสำรองไว้ใช้ในฤดูแล้งหน้า ให้ได้มากที่สุด

QR Code LINE @Matichon

เกาะติดทุกสถานการณ์จาก

Line @Matichon ได้ที่นี่

LINE @Matichon

ชัยนาท

ชัยนาท

หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา

Related Posts

Next Post

บทความ แนะนำ

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.