ชลประทาน เร่ง9แผนงาน สยบอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยา

This image is not belong to us

นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ กรมได้มีการประชุมหารือเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้แผนงานบรรเทาอุทกภัยลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ร่วมกับคณะผู้บริหาร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของโครงการฯ โดยกรมได้ดำเนินการขับเคลื่อนแผนหลักการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 9 แผนงาน ที่จะสามารถบรรเทาปัญหาทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้งในลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยในส่วนของโครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง ตั้งแต่บริเวณท้ายเขื่อนพระราม 6 ถึง คลองชายทะเล กรมชลประทานมีเป้าหมายเพิ่มอัตราการระบายน้ำจาก 210 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)/วินาที เป็น 400 ลบ.ม./วินาที ประกอบด้วย การปรับปรุงโครงข่ายคลองชลประทานเดิมจำนวน 23 คลอง ความยาวรวม 490 กิโลเมตร รวมทั้งได้ก่อสร้างและปรับปรุงอาคารบังคับน้ำรวม 43 อาคาร ซึ่งเมื่อโครงการต่างๆ แล้วเสร็จ จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำลงสู่ทะเล พร้อมเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักในคลองได้ 66 ลบ.ม.

นายประพิศ กล่าวว่า ที่ผ่านมาได้ดำเนินการขับเคลื่อนแผนหลักการบรรเทาอุทกภัยในลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง 9 แผนงาน ประกอบด้วย 1.โครงการปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง 2.โครงการคลองระบายน้ำหลากชัยนาท-ป่าสัก-อ่าวไทย 3.โครงการคลองระบายน้ำควบคู่ถนนวงแหวนรอบที่ 3

4.โครงการปรับปรุงโครงข่ายระบบชลประทานฝั่งตะวันตก 5.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำเจ้าพระยา 6.โครงการบริหารจัดการพื้นที่นอกคันกั้นน้ำ 7.โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทร 8.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำแม่น้ำท่าจีน และ 9.โครงการพื้นที่รับน้ำนอง

นายประพิศ กล่าวว่า ที่การประชุมได้กำชับให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน เร่งรัดการเตรียมความพร้อมให้ครบถ้วนต่อการดำเนินงานในส่วนต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องและตรงตามแผนหลักของตัวโครงการที่ได้วางไว้ ทั้ง 9 แผนงานดังกล่าว ได้รับการอนุมัติเปิดโครงการไปแล้วจากมติคณะรัฐมนตรี โดยกรมจะเร่งดำเนินการรายกิจกรรมในแผน 1 หรือปรับปรุงระบบชลประทานเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง ได้แก่ ปรับปรุงคลองระพีพัฒน์ ปรับปรุงคลองระพีพัฒน์แยกใต้ และคลองระบายน้ำชัยนาท-ป่าสัก เตรียมเสนอต่อคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) และรายงานต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.)อนุมัติโครงการเพื่อก่อสร้างในปี 2566

รายงานข่าวจากกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ระบุว่า สำหรับปริมาณน้ำใช้การได้ในแหล่งน้ำทุกขนาด 22,615 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 39% ของความจุอ่างฯ แบ่งเป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 17,014 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 36% ของความจุอ่างฯ ซึ่งต้องเฝ้าระวังน้ำน้อย จำนวน 12 แห่ง อาทิ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ เป็นต้น ส่วนคุณภาพน้ำ ณ จุดเฝ้าระวังน้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี ค่าความเค็มสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

ส่วนน้ำเพื่อการเกษตรแม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง ค่าความเค็มสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน บริเวณปากแม่น้ำ ซึ่งสอดคล้องกับข้อสั่งการของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ที่ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ปัญหาความเค็ม จากน้ำทะเลหนุนสูงทุกพื้นที่โดยเฉพาะพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่าง เพื่อไม่ให้กระทบน้ำอุปโภค-บริโภค


ชัยนาท

ชัยนาท

หลวงปู่ศุขลือชา เขื่อนเจ้าพระยาลือชื่อ นามระบือสวนนก ส้มโอดกขาวแตงกวา

Related Posts

Next Post

บทความ แนะนำ

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.